ชะแว้บข้ามมายังภูมิภาคจูบุ (Chubu) ที่เมืองทาคายามะ (Takayama) จังหวัดกิฟุ (Gifu) กันค่ะ ทิปิจังคิดว่าเมืองนี้คงมีชื่อเสียงและเป็นขวัญใจเพื่อนๆ หลายคนอยู่แล้วสินะ เพราะโดยสภาพแวดล้อมที่ให้บรรยากาศดี๊ดี ภายใต้อ้อมกอดขุนเขาสุดแสนจะโรแมนติค แถมยังได้กลิ่นอายความเป็นญี่ปุ๊นญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมครบถ้วน จนได้ฉายาลิตเติ้ลเกียวโตะ ซึ่งบ้านเรือนเก่าแก่แถวนี้ก็รุ่นราวคราวเดียวกับที่เกียวโตะนั่นแหละค่ะ แต่ขนาดของเมืองจะย่อส่วนลงมา จึงเดินเที่ยวชมนู่นนี่ได้ชิลๆ แบบไม่ต้องหงุดหงิดกับรถติดที่ทุกแยกไฟแดงเหมือนที่เกียวโตะ นอกจากนี้ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทาคายามะเองอีกหลายต่อหลายอย่าง
สำหรับบล็อกนี้จะพาไปเยี่ยมชมศาลเจ้า ซากุระยามะ ฮาจิมังกู ซึ่งต่อไปขอเรียกว่า ศาลเจ้าฮาจิมัง สั้นๆ ละกันนะ ศาลเจ้านี้อยู่ค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของย่านเมืองเก่า และเป็นที่ตั้งของยาไทไคคัง หรือ Takayama Festival Float Exhibition Hall ซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงรถขบวน หรือยาไท (yatai) ตัวเอกสำคัญของงานเทศกาลใหญ่ของทาคายามะเค้าละ
มาเริ่มตั้งแต่รู้จักกันก่อนเลยว่า เทศกาลทาคายามะ หรือทาคายามะมัตสึริ (Takayama matsuri) นี้คืออะไร เทศกาลทาคายามะ ถือเป็น 1 ใน 3 ของเทศกาลที่ขึ้นชื่อว่าสวยงามที่สุดของญี่ปุ่น (อีก 2 เทศกาล ได้แก่ กิองมัตสึริที่เกียวโตะ และจิจิบุมัตสึริที่ไซตามะ) ซึ่งจะจัดขึ้น 2 ครั้งเป็นประจำทุกปี ครั้งแรกในฤดูใบไม้ผลิ (14-15 เม.ย.) และอีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วง (9-10 ต.ค.) นับเป็นเทศกาลเก่าแก่ที่จัดต่อเนื่องมายาวนานกว่า 350 ปี ซึ่งเริ่มแรกก็ยังเป็นเพียงการเฉลิมฉลองแบบง่ายๆ ภายในเมือง แต่ต่อมาพอเมืองขยายจนกลายเป็นศูนย์กลางค้าไม้ ศูนย์กลางผลิตเหล้าสาเก และแหล่งรวมช่างฝีมือชั้นสุดยอดของยุค งานเทศกาลก็อลังการขึ้นเรื่อยๆ ตามความมั่งคั่งของเมือง
โถงใหญ่ภายในห้องจัดแสดงของยาไทไคคัง
สามารถชมนิทรรศการที่่จัดแสดงได้รอบด้าน
ชมจากมุมสูงก็ได้
มาเริ่มตั้งแต่รู้จักกันก่อนเลยว่า เทศกาลทาคายามะ หรือทาคายามะมัตสึริ (Takayama matsuri) นี้คืออะไร เทศกาลทาคายามะ ถือเป็น 1 ใน 3 ของเทศกาลที่ขึ้นชื่อว่าสวยงามที่สุดของญี่ปุ่น (อีก 2 เทศกาล ได้แก่ กิองมัตสึริที่เกียวโตะ และจิจิบุมัตสึริที่ไซตามะ) ซึ่งจะจัดขึ้น 2 ครั้งเป็นประจำทุกปี ครั้งแรกในฤดูใบไม้ผลิ (14-15 เม.ย.) และอีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วง (9-10 ต.ค.) นับเป็นเทศกาลเก่าแก่ที่จัดต่อเนื่องมายาวนานกว่า 350 ปี ซึ่งเริ่มแรกก็ยังเป็นเพียงการเฉลิมฉลองแบบง่ายๆ ภายในเมือง แต่ต่อมาพอเมืองขยายจนกลายเป็นศูนย์กลางค้าไม้ ศูนย์กลางผลิตเหล้าสาเก และแหล่งรวมช่างฝีมือชั้นสุดยอดของยุค งานเทศกาลก็อลังการขึ้นเรื่อยๆ ตามความมั่งคั่งของเมือง
ส่วนรถขบวนยาไทที่จะแห่ไปตามถนนสายต่างๆ ก็เป็นไฮไลท์สำคัญของงาน โดยมีจำนวน 12 และ 11 ลำ สำหรับในฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง ตามลำดับ หลายลำเก่าแก่มากเพราะใช้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 นู่นแล้ว งานไม้แกะสลัก เคลือบปิดทอง และงานโลหะ ผสมผสานศิลปะในหลายยุคเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นศิลปะเฉพาะของ Hida Takayama อันวิจิตร
นอกจากนี้ เรื่องเทคโนโลยีจักรกลก็พัฒนามาไกลมาก เช่น หุ่นกระบอกมาริโอเนต หรือคาราคุรินิงเกียว ในชุดเสื้อไหมยกทองสวยงาม ถือเป็นตัวแทนของเทพเจ้าและเหล่าขุนนางที่ชาวบ้านนับถือ และใช้ประกอบในยาไท 4 ลำเท่านั้น ก็มีกลไกอันน่าทึ่งทำให้เคลื่อนไหวไปมา ทั้งวิ่งเล่นและหกคะเมนตีลังกาเหมือนมีชีวิตจริง โดยอาศัยทักษะที่ผ่านการฝึกฝนมาเป็นแรมปีของนักเชิด ซึ่งหุ่นบางตัวต้องใช้นักเชิดถึง 8 ชีวิตเลยทีเดียว
ส่วนล้อของยาไท ก็ออกแบบด้วยเทคนิคพิเศษเช่นกัน เพื่อให้คนธรรมดาๆ ลากจูงรถยาไทที่ทั้งหนักและสูงใหญ่โตนี้ ไปตามสถานที่ต่างๆ ได้แบบไม่มีสะดุดหรือติดขัด โดยเฉพาะเมื่อต้องเลี้ยวโค้งหักมุมด้วยความเร็วสูง ยิ่งต้องมีกลไกพิเศษโดยเฉพาะ ซึ่งยาไทแบบ 3 และ 4 ล้อก็จะใช้เทคนิคที่แตกต่างกัน ถือเป็นเทคโนโลยีอันพิถีพิถัน ที่เติบโตมากับภูมิปัญญาท้องถิ่น และเต็มเปี่ยมไปด้วยจินตนาการขั้นสุดยอด … ทิปิจังไม่แปลกใจเลยค่ะ ว่าทำไมประเทศเค้าถึงเจริญลำหน้า พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มาอวดโฉมชาวโลกอยู่เสมอ โดยเฉพาะด้านยานยนต์
กลับมาที่ศาลเจ้าฮาจิมังค่ะ ศาลเจ้านี้ได้รับสิทธิพิเศษ ในการจัดแสดงยาไทที่ใช้จริงในงานเทศกาลถึง 4 ลำด้วยกัน (ลำอื่นๆ ที่เหลือจะแยกย้ายไปจัดเก็บตามหมู่บ้านต่างๆ) รวมถึงลำที่ไม่ได้ใช้ในปัจจุบันแล้วด้วย (เช่น พวกยาไทยุคแรกๆ ที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก และยังใช้ล้อลากคล้ายเกวียน) ดังนั้นห้องจัดแสดงจึงต้องออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อสามารถบรรจุยาไทขนาดใหญ่ยักษ์เหล่านี้ได้ แม้กระทั่งประตูกระจกของห้องจัดแสดง และประตูเหล็กสำหรับเข้าออกตัวอาคาร ก็ต้องสูงเป็นพิเศษด้วยเช่นกัน
แต่แม้จะออกแบบและสร้างเตรียมไว้ขนาดนี้แล้ว ก็ยังไม่พอให้ยาไทบางลำเข็นผ่านออกไปได้ง่ายๆ เพราะยิ่งสร้างก็ยิ่งสูงและอลังการขึ้นทุกปี ทำให้ยาไทที่สูงเกินโควต้าเหล่านี้ ต้องออกแบบให้มีกลไกพิเศษเป็นของตัวเองเพิ่มเข้ามาอีก คือต้องสามารถย่อยืดส่วนยอด เพื่อให้เคลื่อนย้ายไปไหนต่อไหนได้ด้วยนั่นเอง โอ้โห ได้ยินได้ฟังได้เห็นแล้ว ก็ทั้งทึ่งและชื่นชมจริงๆ ค่ะ เพียงแค่รถขบวนสำหรับงานเทศกาลท้องถิ่น ก็ยังรวบรวมเทคโนโลยีชั้นสูงไว้มากมายได้ขนาดนี้
นอกจากห้องจัดแสดงยาไทไซส์พิเศษแล้ว ก็ยังมีห้องนิทรรศการอื่นๆ ให้เยี่ยมชมเช่นกัน ซึ่งก็วนเวียนอยู่กับเรื่องราวของงานเทศกาล เช่น รถขบวนยาไทที่ใช้ในแต่ละยุคสมัย ความลับของกลไกนานาชนิด รวมถึงหน้ากากสิงโต ที่ทำให้นึกถึงเชิดสิงโตบ้านเราเล็กน้อย แต่ที่ญี่ปุ่นนี้ไม่ได้ต่อแถวเป็นหางยาว แบบที่หางต้องวิ่งให้ทันหัวนะคะ อีกทั้งในญี่ปุ่นเองก็ไม่มีสิงโตอาศัยอยู่ด้วย ดังนั้นหน้ากากสิงโตจึงถูกนำมาใช้เพื่อเป็นตัวแทนของความยิ่งใหญ่เท่านั้น ถ้าใครอยากรู้จักหน้ากากสิงโตให้มากกว่านี้ ก็สามารถแวะเยี่ยมชมได้ที่ ชิชิไคคัง หรือ Lion Dance Ceremony Exhibition Hall ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากศาลเจ้าฮาชิมังนี้ได้ค่ะ
ขนาดแค่ห้องจัดแสดงยังทำเอาทิปิจังตื่นเต้นได้ขนาดนี้ จินตนาการไม่ออกเลยทีเดียว ว่าถ้าได้มาเที่ยวเมืองทาคายามะในช่วงงานเทศกาล จะเฮได้ขนาดไหน … แต่ถ้าไม่พร้อมจะเบียดเสียดกับใคร แค่วิดีโอในยาไทไคคังแห่งนี้ ก็เพียงพอประมาณนึงแล้วล่ะค่ะ
ยาไทไคคัง Takayama Festival Float Exhibition Hall
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น