มิสกะโปโล และ ทิปิจัง ขอนำเสนอ บล็อกประสบการณ์ท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศ ที่จะแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ให้กับเพื่อนๆ ทุกท่านที่สนใจค่ะ

4 มิถุนายน 2560

ศาลเจ้า v.s. วัดพุทธ


คนญี่ปุ่นโดยทั่วไปไม่ได้นับถือศาสนาอะไร แต่มักปฏิบัติตามความเชื่อของหลายๆ ลัทธิ ในแต่ละวาระ เช่น ไหว้เจ้าขอพรที่ศาลเจ้าชินโต จัดงานแต่งงานที่โบสถ์คริสต์ หรือจัดงานศพที่วัดพุทธ เป็นต้น ส่วนนักบวชที่นี่ก็สามารถแต่งงานมีครอบครัวได้ โดยลูกหลานมักเป็นผู้สืบทอดกิจการในศาลเจ้าต่อไป

เสาโทริอิต้นใหญ่ยักษ์กลางถนนเมืองเกียวโตะ

แล้ววัดพุทธกับศาลเจ้าที่มีอยู่มากมายน้อยใหญ่เนี่ย แม้จะดูคล้ายๆ กัน แต่อันที่จริงก็ต่างกันอยู่นะ เอาง่ายๆ อย่างในภาษาญี่ปุ่น ก็สะกดลงท้ายต่างกันชัดเจนแล้ว คือ วัดพุทธมักจะลงท้ายว่า เทระ เดระ หรือจิ (ซึ่งแทนด้วยคันจิตัวเดียวกันคือ 寺) ขณะที่ศาลเจ้ามักเรียกลงท้ายว่า จินกู (神宮) กู (宮) หรือ จินจะ (神社)


 Find MsKapolo and Behind-The-Design-Story on Facebook

https://www.facebook.com/Travelismylifeblog/

Booking.com

เสาโทริอิกลางน้ำ ที่มิยาจิมะ ฮิโรชิม่า

เสาโทริอิจำนวนมาก ที่ศาลเจ้าโมโตโนะซึมิ จังหวัดยามากุจิ

นอกจากนี้ยังมีลักษณะภายนอกที่ต่างกัน และสังเกตุได้ไม่ยาก เช่น เสาซุ้มประตูโทริอิ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง (แต่ที่เป็นสีไม้ธรรมชาติก็มี) มักตั้งอยู่ด้านหน้าศาลเจ้า โดยเชื่อว่าเป็นเส้นแบ่งระหว่างโลกมนุษย์กับดินแดนของเทพ ส่วนในวัดพุทธก็จะพบเห็นรูปเคารพ เช่น พระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งตรงข้ามกับในศาลเจ้าชินโต ซึ่งนับถือธรรมชาติ จึงไม่พบรูปสักการะใดๆ (เนื่องจากเทพเจ้าในศาสนานี้คือธรรมชาติ) แต่พอเวลาผ่านไปนานเข้า ก็ผสมผสานกลมกลืน จนจะพบเห็นวัดพุทธและศาลเจ้า อยู่ในบริเวณเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันนั่นเอง

ในวัดพุทธจะมีพระพุทธรูปประดิษฐาน

ซึ่งจะไม่พบเห็นในศาลเจ้าชินโต

ลูกกระพรวนขอพรที่วัดพุทธ

ลูกกระพรวนขอพรที่ศาลเจ้า

ทีนี้เวลามาวัดหรือศาลเจ้า สิ่งหนึ่งที่นิยมกัน ก็คือ ขอพรยังงัยล่ะ สังเกตุลูกกระพรวนลูกโตที่แขวนอยู่ด้านหน้าศาลเจ้ามั้ยคะ เวลาขอพรต้องเขย่าเชือกให้ลูกกระพรวนดังกรุ๊งกริ๊งๆๆ ให้แน่ใจว่าเทพเจ้าจะได้ยินที่ขอ (แต่ที่ไม่แน่ใจคือ ถ้าขอเป็นภาษาอื่นแล้วเทพเจ้าญี่ปุ่นจะเข้าใจมั้ย) จากนั้นให้โยนเหรียญ 5 เยนหรือโกะเอง (五円) ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่าโกะเอง (御縁) ที่มีความหมายมงคล ลงในกล่องไม้ด้านหน้า (แต่ถ้าไม่มีเหรียญ 5 เยน จะใช้ 50 เยนแทนก็ได้ อย่างน้อยก็มีรูตรงกลางเหมือนกัน ต้นทุนสูงกว่าหน่อย อิอิ) เสร็จแล้วตบมือ 2 ครั้งพร้อมตั้งจิตอธิษฐาน เป็นอันจบการขอพรแบบเบสิค … ยิ่งถ้ามาเยือนในช่วงฮ็อตฮิต เช่น ปีใหม่ เทพเจ้าคงทำงานหนักเป็นพิเศษ (เกี่ยวกับปีใหม่ที่ญี่ปุ่น อ่านบล็อกนี้)


ป้ายไม้เอมะ สำหรับขอพรแบบเป็นลายลักษณ์อักษร

ถ้าอธิษฐานขอพรในใจแล้วยังไม่ค่อยชัวร์ ก็สามารถขอย้ำซ้ำอีกที เป็นลายลักษณ์อักษรบนแผ่นไม้เอมะ ซึ่งศาลเจ้าหลายแห่งก็เตรียมไว้ให้ซื้อไปเขียนกัน เพื่อนำไปแขวนขอพรแบบลงทะเบียนซะเลย หรือถ้าใครชอบวัดดวง จะลองเซียมซี (โอมิคุจิ) แล้วเอาไปผูกไว้กับต้นไม้ หรือตรงที่เค้าจัดให้ เพื่อให้สมหวังตามคำทำนาย หรือหากคำทำนายไม่ค่อยถูกใจ โชคไม่ดีก็จะไม่ตามกลับไป

อ่านเสร็จก็มาผูกไว้

เซียมซีแบบให้เด็กช่วยลุ้น

แบบใหญ่ยักษ์และหนักอึ้งก็มี

นอกจากนี้ที่วัดพุทธเนี่ย สมัยนี้มีให้บริการนอนวัดพร้อมอาหารมังสวิรัติด้วยนะ เรียก temple lodging ออกแนวหรูหรา คล้ายเรียวคังเล็กน้อย แต่อุ๊ย วัดนะจ๊ะ ไม่ใช่อองเซน มานอนซักครั้ง ก็ได้ประสบการณ์แปลกดีเหมือนกัน เอาไว้ค่อยมาเล่าให้ฟังในอีกบล็อกนะคะ


http://travelismylifeblog.blogspot.com/p/blog-page_7.html http://travelismylifeblog.blogspot.com/p/blog-page_8.html    

ญี่ปุ่น 4 ฤดู
ฉลองปีใหม่ที่ญี่ปุ่น ต้องลอง
นอนเรียวคัง แช่อองเซน
ศาลเจ้า v.s. วัดพุทธ
พิธีชงชาแบบญี่ปุ่น
ไต่บันไดพันขั้น (Yamadera)
เยือนวัดจูซอนจิ ณ เมืองมรดกโลกฮิไรซึมิ อิวาเตะ
ยาไทไคคัง Takayama Festival Float Exhibition Hall
แต่งกิโมโน ทัวร์เกียวโตะ
คืนนี้นอนวัด (Temple lodging, Koya)
เที่ยวศาลเจ้า Kumanonachi วาคายามะ
เยือนทสึวาโนะ จังหวัดชิมาเนะ (ศาลเจ้า Taikodani & Tsuwano old town)
เที่ยวศาลเจ้าดาไซฟุ
อองเซนทรายร้อนที่ Ibusuki, Kagoshima

https://www.facebook.com/Travelismylifeblog/

 Visit MsKapolo shop on Etsy.com

Booking.com

http://www.shutterstock.com/g/tipwam?rid=3993592

http://www.shutterstock.com/?rid=3993592

http://submit.shutterstock.com/?ref=3993592

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น